ทำความรู้จัก นิกาย โปรเตสแตนต์

โดยนิกาย โปรเตสแตนต์ หนึ่งในนิกาย ในศาสนาคริสต์  และ โปรเตสแตนต์ ก้หมายถึง ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์  โปรเตสแตนต์นั้นมีจุดเริ่มต้น จุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16  ที่ คัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น ๆ การกำเนิดของนิกายโปรเตสแตนต์ มีผลสำคัญทั้งทางศาสนา และการเมืองมาก เพราะเป็นการทำลาย การติดต่อเกี่ยวพัน ในระหว่างพวกคริสต์ และทำให้กลุ่มคาทอลิก สังคายนาระเบียบ ของตัวเองให้เรียบร้อยขึ้น ขณะเดียวกันยังทำให้ฝ่ายคาทอลิก ตัดรอนอำนาจของสันตปาปาในกรุงโรม ทำให้เกิดรัฐอิสระอีกหลายแห่ง ดังนั้น ในช่วงนี้ จึงเรียกว่าเป็น ช่วงปฏิรูปศาสนาหรือ Reformation การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของกลุ่มเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อนิกายเล็ก ๆ ในภายหลัง โดยกลุ่มที่เป็นตัวเคลื่อนไหวนี้

-->

รวมเรื่องราวทั่ง 5 ของพระเยซู

โดยเรื่องราวนั้นถูกเขียนในหนังสือ มีเนื้อหาที่ชัดเจนในตัวเอง ระหว่างที่เรียนให้จดบันทึกว่า เรื่องราวแต่ละเรื่องได้แสดงให้เห็นถึงฤทธิ์อำนาจและพระลักษณะของพระเยซูในด้านใดบ้าง ตลอดการเรียนรู้ทั้งห้าเรื่องราวนี้ คุณจะซาบซึ้งในความเมตตาและความห่วงใยของพระเยซู เห็นถึงสิ่งที่ไม่มีใครจะทำได้นอกจากพระเจ้าเท่านั้น และแสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงมีฤทธิ์เหนือธรรมชาติ เหนือความเจ็บป่วย เหนือความพิการ เหนือวิญญาณชั่ว และ เหนือความตาย • เรื่องราวที่ 1 (พระเยซูทรงเลี้ยงอาหารประชาชน) เกิดขึ้นที่เมืองเบธไซดา บริเวณทางขวาบน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ตรงหัวมุมของทะเลสาบกาลิลี • เรื่องราวที่ 2 (พระเยซูทรงเดินบนน้ำ) เกิดขึ้นหลังจากที่มีพายุใหญ่มาปกคลุมอยู่เหนือทะเลสาบกาลิลี • เรื่องราวที่ 3 (ชายที่มองเห็นได้) เกิดขึ้นทางตอนใต้ ในกรุงเยรูซาเล็ม ใกล้กับสระน้ำสิโลอัมที่มีชื่อเสียง • เรื่องราวที่ 4 (ชายที่กลับสู่สภาพดี) เกิดขึ้นบนชายฝั่งของทะเลสาบกาลิลี คราวนี้อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ในเมืองเก-ราซา หรือ แคว้นกาดารา • เรื่องราวที่ 5 (ลาซารัสฟื้นจากตาย!) เกิดขึ้นในเมืองเบธานี ใกล้กับกรุงเยรูซาเล็ม

-->

นักบุญนิโคลัส มุขนายกแห่งมิราในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4

โดยชื่อเต็มของท่าน นักบุญนิโคลัสแห่งไมรา (Saint Nicholas of Myra)  และ แปลว่า ชัยชนะของปวงชน  ท่านเกิดที่เมืองปารารา ดินแดนอานาโตเลียในปี ค.ศ. 270 หรือ พ.ศ 813 โดยชีวิตช่วงวัยหนุ่มท่านได้จาริกแสวงบุญไปอียิปต์และปาเลสไตน์ พอกลับมาได้ไม่นานก็ได้รับแต่งตั้งเป็นบิชอปแห่งมิรา ต่อมาช่วงการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน สมัยจักรพรรดิไดโอคลีเชียน ท่านถูกจับขังคุก จนเมื่อสิ้นสุดลงในรัชสมัยจักรพรรดิคอนสแตนติน ท่านจึงถูกปล่อยตัวต่อมาท่านได้เข้าร่วมสภาสังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง และถึงแก่มรณกรรมเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 886 ว่ากันว่าในปี 1630 ศพของท่านถูกพ่อค้าชาวอิตาลีขโมยจากเมืองมิรามาไว้ที่เมืองบารีประเทศอิตาลีจวบจนปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ เซนต์ นิโคลัส แห่งเมืองไมรา เป็นที่รู้จักเรื่องความมีเมตตาต่อเด็ก และมักแอบมอบของขวัญแก่เด็กๆ จึงค่อยๆ เป็นที่รู้จักในยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 16 ในฐานะบิดาแห่งคริสต์มาส ผู้มอบของขวัญให้เด็กๆ โดยชาวดัตช์ซึ่งเดินทางไปถึงสหรัฐฯ เรียก เซนต์นิโคลัสว่า ‘ซินเตอร์คลาส’ (Sinterklaas) ก่อนจะกลายมาเป็น ซานตาคลอส เหมือนเช่นในปัจจุบันประวัติตอนหนึ่งเล่าว่า นักบุญของเราคนนี้ มีชื่อเสียงในเรื่องของการให้ทานแบบแปลกๆ เช่นใส่เหรียญ่ไว้ในรองเท้าแก่ผู้ที่ถอดออกมายื่นให้แก่ท่าน ซึ่งเป็นที่มาของรูปแบบในการขอของขวัญจากซานตาคลอส ที่เรามักเอาถุงเท้าไปแขวนไว้ที่ปล่องไฟนั่นเอง นอกจากตำนานเรื่องของขวัญแล้ว ท่านยังได้รับขนานนามว่าเป็นRead More

-->

อยากรู้ไหม การทำมิสซาเที่ยงคืน คืออะไร

เมื่อพระสันตะปาปาจูลีอัสที่1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส) แล้วในปี นั้นเองพระองค์และสัตบุรุษได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม ยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติ พอไปถึงก็เป็นเวลาเที่ยงคืน พระสัน ตะปาปาก็ทรงถวายบูชา ณ ที่นั้น เมื่อเสร็จแล้วก็กลับมาที่พัก เป็นเวลาเช้ามืดราวๆ ตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และสัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ก็ยังมีสัตบุรุษหลายคนที่ไม่ได้ไป พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อ สัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติ ของพระองค์ตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมาจึงมี ธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ใน โอกาสวันคริสต์มาสเช่นเดียวกัน

-->

รู้หรือไม! พิธีมิสซา คืออะไร

พิธีมิสซา จะถูดจัดขึ้นใน วันคริสต์มาส ซึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญ พิธีมิสซา  คือ พิธีบูชาขอบพระคุณ ในความเป็นหนึ่งเดียวกันของคริสตชน โดยมีองค์พระเยซูเจ้าเอง เป็นเครื่องบูชาเพื่อไถ่บาปแทนเรามนุษย์ อาศัยพระกายและพระโลหิตที่ยอมสละและพลีชีวิตเพื่อเรา ดังนั้น พิธีมิสซาฯ จึงควรเป็นพิธีของส่วนรวมในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ที่คริสตชนจะขอบพระคุณพระเจ้าที่ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์ลงมาไถ่บาปแทนเรามนุษย์ทุกคน องค์ประกอบของพิธีมิสซาฯ    พิธีการต่าง ๆ ของพิธีมิสซาฯ นั้น ประกอบด้วยภาคต่าง ๆ ดังนี้ 1. ภาคเริ่มพิธี ตั้งแต่เริ่มพิธี ไปจนถึงบทภาวนาของประธาน (Collecta)     เริ่มจากเพลงแห่เข้า (ในความเป็นจริงจะไม่มีเพลงก็ได้ แต่การที่มีเพลง เพื่อให้สัตบุรุษรวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อสรรเสริญพระเจ้า และถือเป็นการภาวนาอย่างหนึ่ง เพลงในพิธีกรรมที่ดี ควรเป็นเพลงที่สื่อความหมายให้เข้าใจในพิธีกรรม และร่วมจิตใจได้)     – คำทักทาย – การสารภาพความผิด – บทกีรีเอ – (พัฒนามาจากบทลีตานีอาในยุคแรกเริ่ม) – บทกลอรีอา และจบที่บทภาวนาของประธานซึ่งเป็นช่วงเชื่อมต่อไปสู่ช่วงที่สอง ในภาควจนพิธีกรรม     สาระโดยรวมของภาคเริ่มพิธีนี้ มีจุดประสงค์เพื่อเริ่มต้นนำ และเตรียมให้บรรดาสัตบุรุษที่ชุมนุมอยู่ด้วยกัน มีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน และเป็นการโน้มน้าวจิตใจให้พร้อมที่จะฟังพระวาจาของพระเจ้าอย่างถูกต้อง และให้เฉลิมฉลองศีลมหาสนิทอย่างสมควร 2. ภาควจนพิธีกรรม   เริ่มจากบทอ่านแรกจากพันธสัญญาเดิมRead More

-->

รู้หรือไม ทำไมจึงฉลองคริสต์มาสวันที่ 25 ธันวาคม

เราเคยสงสัยกันไหมว่าทำไมเขาถึงเลือกวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่ต้องฉลองในวันคริสต์มาส และวัน คริสต์มาส มันมีความสำคัญอย่างไรต่อเรา ทำไมเราถึงฉลอง และวันนี้เราจะมาดูคำตอบของคำถามกันว่าทำไมถึงต้อง ฉลองคริสต์มาส ในวันที่ 25 ธันวาคม ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ บันทึกไว้ว่าพระเยซูเจ้าบังเกิด ในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ออกัสตัส ให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยมีคีรินิอัสเป็นเจ้าครองเมืองซีเรีย ซึ่งในพระคัมภีร์ไม่ได้บอกว่า เป็นวัน หรือเดือนอะไร แต่นักประวัติศาสตร์ให้เหตุผลว่า ทื่คริสตชน เลือกเอาวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลองคริสต์มาส ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา เนื่องจาก ในปี ค.ศ. 274 จักรพรรดิเอาเรเลียน ได้กำหนดให้วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลอง วันเกิดของสุริยเทพผู้ทรงพลัง ชาวโรมันฉลองวันนี้อย่างสง่า และถือเสมือนว่าเป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะพระจักรพรรดิก็เปรียบเสมือน ดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ คริสตชนที่อยู่ในจักรวรรดิ โรมันรู้สึกอึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพตามประเพณีของชาวโรมัน จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 330 จึงเริ่มมีการฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการ และอย่างเปิดเผย เนื่องจากก่อนนั้นมีการเบียดเบียนศาสนาอย่างรุนแรงRead More

-->

กวางเรนเดียร์ พาหนะคู่ใจ ซานตาคลอส

เมื่อเราพูดถึงซานตาคลอสภาพที่เราเห็นก็คงคิดถึงตอนท่านค่อยขี้รถลากที่ลากโดย กวางเรนเดียร์ ค่อยส่งของขวัญให้กับเด็กๆในทุกเทศกาลคริสต์มาสและเวลาเราเห็นเจ้ากวางพวกมันดูเด่นสง่างามมีรูปร่างหน้าตาที่เป็นมิตร เขาที่เป็นเอกลักษณ์ร่างกายแข็งแรงวันนี้เรามารู้จักพวกกวางพวกนี้ในชีวิตจริงกันดีกว่า ว่าพวกมันจะน่ารักเหมือนที่อยู่กับซานตาคลอสหรือไม ในแต่ละปีกวางแคริบูเดินท่องได้ไกลเกือบ 5,000 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการเดินทางไกลที่สุดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยบนบก เป็นรองก็แต่วาฬหลังค่อม (humpback whale) ซึ่งทำสถิติเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยที่ท่องโลกไกลที่สุด โดยว่ายน้ำเพื่อไปแหล่งผสมพันธุ์ไกลถึง 8,000 กิโลเมตรฝนช่วงฤดูหนาว เห็นท่าเดินช้าๆ เชื่องๆ แต่กวางแคริบูวิ่งได้เร็วถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อได้สัญญาณของผู้ล่ากวางแคริบูจะวิ่งเหยาะๆ ยกหัวสูงขนานกับพื้น และหางที่ปกติจะห้อยลงก็จะตั้งขึ้น เมื่อถูกไล่ล่าก็จะวิ่งควบอย่างว่องไว และด้วยพฤติกรรมดังกล่าวจึงมีประเพณีแข่งกวางเรนเดียร์ทางภาคเหนือของรัสเซีย กวางเหล่านี้อาศัยอยู่ในอลาสกา แคนาดา สแกนดิเนเวีย และรัสเซีย โดยเล็มกินหญ้าในที่ราบทุนดรา และแทนที่จะมีขนนุ่มๆ ปกคลุมตัว แต่กวางเรนเดียร์กลับมีขนที่เป็นโพรงดักอากาศ ซึ่งทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันอุณหภูมิอันหนาวเหน็บจากภายนอก และระบบไหลเวียนเลือดของให้เลือดที่มีอุณหภูมิเย้นกว่าตามขาของเรนเดียร์ดึงความร้อนจากเลือดอุ่นๆ ของร่างกายส่วนอื่นๆ ได้

-->

ไก่งวงอบในเทศกาลคริสต์มาส

เทศกาลคริสต์มาสถือว่าเป็นเทศกาลสำคัญสำหรับศาสนาคริสต์ เพราะถือว่าเป็นวัน ฉลองวันประสูติของพระเยซูผู้เป็นศาสดาสูงสุดของชาวคริสต์ทั่วโลก และทำให้ครอบครัวที่ต้องแยกจากกันโดยการแยกออกไปมีครอบครัวของตนเองหรือเพราะการทำงานได้กลับมาอยู่ด้วยกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมในรอบปี ไก่งวง หรือห่านอบนี้ ต้องเสิร์ฟพร้อมเครื่องเคียง เช่น มันอบกรอบนอกนุ่มใน ไส้กรอกพันด้วยเบคอน ผักที่เรียกว่า Brussels Sprout ลักษณะคล้ายกะหล่ำปลีหัวเล็กๆ ซึ่งในฤดูหนาวจะมีผัก ชนิดนี้ขายสดๆ นำมาต้มแล้วเสิร์ฟกับเนย นอกจากนี้ก็มีผักประเภทหัว เช่น หัวไช้เท้า จะตักเอาเครื่องที่ยัดไส้ไก่งวงหรือห่านอบไว้ออกมา หรือบางบ้านอาจจะทำเครื่องยัดไส้นี้แยกไว้ต่างหาก ใส่ถาดไว้ เสิร์ฟกับเครื่องเคียง ราดน้ำเกรวี่ชุ่มๆ และ มีแครนเบอร์รี่ซอสสำหรับกินกับไก่งวง ด้วย ซึ่งไก่งวงนี้ ถ้าฝีมือการอบยังไม่ดีพอ เนื้อตรงส่วนอกไก่งวงจะแห้ง แต่ส่วนขาไก่งวงจะยังมีความชุ่มชื้นอยู่ เมื่อถึงเวลารับประทาน ผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่ที่สุดของบ้านจะเป็นผู้หั่นไก่งวงแบ่งให้สมาชิกทุกคนในครอบครัว แล้วจะใช้เวลารับประทานกันนานมาก มีการดื่มเครื่องดื่มต่างๆ เช่น เหล้า ไวน์ แชมเปญไปด้วย

-->

รู้ไหม หิมะ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

หิมะ สำหรับเด็กๆที่ไม่ได้เกิดมาในประเทศที่ไม่มีหิมะตกในฤดูหนาวนั้นก็คงตื่นเต้นเป็นธรรมดา และอยากรู้ไหมว่าหิมะนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร หิมะ เป็นรูปหนึ่งของการตกลงมาของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็งจำนวนมากเรียก เกล็ดหิมะ จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส หิมะนั้นเกิดจากละอองน้ำเกิดการเกาะรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0 °C (32 °F) ทำให้เกิดการแข็งตัวเป็นผลึกน้ำแข็ง และตกลงมา นอกจากนี้หิมะยังสามารถผลิตได้จากเครื่องสร้างหิมะเทียม

-->

เที่ยวKOZIAR’s Christmas village อเมริกา

KOZIAR’s Christmas village ถือว่าเป็นที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมของคนในอเมนิกาและทั่วโลกบ้างคนก็ลงทุนมาดูไฟที่นี้โดยเฉพาะโดย KOZIAR’s Christmas village จะเปิดให้ชมแค่ปีละ 2 เดือนเท่านั้น มันจึงเป็นแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมานี้นั้นมากมายแถวอากาศหนาวๆเดินดูไฟสวยถ่ายรูปไฟสวยๆ แต่ก็ต้องทำใจ ลานจอดรถมีค่อนข้างมาก แต่ก็จำกัดรถเข้าออก เลยไปติดยาวอยู่ข้างนอกเสียมาก

-->