ส่ง “ต้นคริสต์มาสแห่งเอกภพ” ฉลองเทศกาลความสุข

สดร.ร่วมฉลองเทศกาลแห่งความสุขผ่าน “ต้นคริสต์มาสแห่งเอกภพ” ผลงานภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์ไทย 0.7 เมตร ที่ออสเตรเลีย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสส่งความสุขจากห้วงอวกาศ ด้วยภาพ “เนบิวลาคริสต์มาสแห่งเอกภพ” เนบิวลาสีแดงขนาดใหญ่เกิดจากแก๊สไฮโดรเจนในอวกาศ ประดับด้วยลูกบอลสีฟ้าแวววาวจากแสงของดาวฤกษ์เกิดใหม่และเนบิวลาขนสุนัขจิ้งจอก หนึ่งในผลงานจากกล้องโทรทรรศน์ควบคุมระยะไกลอัตโนมัติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ของ สดร. ณ หอดูดาวสปริงบรูค ประเทศออสเตรเลีย “NGC 2264” เป็นชื่อเรียกรวม ๆ ของวัตถุในภาพ ประกอบด้วย เนบิวลาแบบเรืองแสง (Emission Nebula) และกระจุกดาวเปิด (Open Cluster) ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นกระจุกดาวอายุน้อยและมีความสว่างมาก อยู่ในกลุ่มดาวยูนิคอร์น (Monoceros) ห่างจากโลกประมาณ 2,600 ปีแสง แสงสีแดงในภาพเกิดจากไฮโดรเจนในอวกาศดูดซับพลังงานจากดาวฤกษ์รอบๆ แล้วปลดปล่อยแสงออกมาในช่วงคลื่นเฉพาะ เรียกว่า “ไฮโดรเจนแอลฟา” เนบิวลานี้จึงมีสีแดงสว่างโดดเด่น เรียกเนบิวลาประเภทนี้ว่า “เนบิวลาเรืองแสง” ลักษณะการเรียงตัวของกระจุกดาว มีดาวสว่างสีฟ้าและสีขาวเรียงเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายต้นคริสต์มาส จึงเรียกว่า “กระจุกดาวต้นคริสต์มาส (ChristmasRead More

-->